วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

วันแห่งความรัก

จงรักชาติ......แต่อย่าคลั่งชาติ
 จงรักดี.........แต่อย่าติดดี
จงรักงาน.......แต่อย่าบ้างาน
จงรักเงิน........แต่อย่าบูชาเงิน
จงรักมนุษยชาติ......แต่อย่าหลงลืมคนที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
และที่สำคัญจงรัก.......คนที่เขาเกลียดเรา
เพราะเขามีต้นทุนคือ....ความรักในหัวใจน้อยเกินไป
ถ้าคุณสามารถรักคนที่เกลียดคุณ...และเห็นคุณเป็นศัตรูได้ มันจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก อยากให้พึงระลึกไว้ด้วยว่า
ความรักที่ลอยพ้นอัตตา...คือรักที่สามารถเยียวยาโลกทั้งผอง
ท่าน ว.วชิรเมธี


วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ท่านอยากเป็นผู้นำแบบใด?

ท่านอยากเป็นผู้นำแบบไหน?
พระอาจารย์ประยูร ธมฺมจิตฺโต (พระธรรมโกศาจารย์) ได้นิพนธ์ไว้ในหนังสือเรื่อง พุทธวิธีบริหาร
ตอนหนึ่งว่า                                                                      
๑. อัตตาธิปไตย หมายถึง การถือตนเองเป็นใหญ่
         นักบริหารที่เป็นอัตตาธิปไตย ถือตนเองเป็นศูนย์กลางของการตัดสินใจ เขาเชื่อมั่นในตนเองสูง คิดว่าตนเองฉลาดกว่าใคร จึงไม่รับฟังความคิดเห็นของใคร เขาไม่อดทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์เขานิยมใช้พระเดชมากกว่าพระคุณ เมื่อบริหารงานนาน ๆ ไปจะไม่มีคนกล้าคัดค้าหรือทัดทาน ลงท้ายนักบริหารประเภทนี้มักเป็นเผด็จการ การบริหารงานแบบนี้ทำให้ได้งานแต่เสียคน นั่นคืองานสำเร็จเร็วทันใจนักบริหาร แต่ไม่ถูกใจคนร่วมงาน เขาผูกใจคนไม่ได้ เขาได้ความสำเร็จของงานแต่เสียเรื่องการครองใจคน
๒. โลกาธิปไตย หมายถึง การถือคนอื่นเป็นใหญ่
        นักบริหารประเภทนี้มีวิธีทำงานที่ตรงกันข้ามกับประเภทแรกนั่นคือ นักบริหารโลกาธิปไตยไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง เขาขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่สามารถตัดสินใจอะไร ถ้านั่งเป็นประธานอยู่ในที่ประชุมเขาจะฟังทุกฝ่ายก็จริง แต่เมื่อฝ่ายต่าง ๆ พูดขัดแย้งกัน เขาจะไม่ตัดสินชี้ขาด แต่เปิดโอกาสให้ทุกฝายทุ่มเถียงทะเลาะกันเอง ใครเสนอความคิดอะไรมาเขาก็เห็นคล้อยตามด้วย จนไม่ยอมตัดสินใจเด็ดขาดลงไปว่าฝ่ายไหนถูกฝ่ายไหนผิด ในที่สุดลูกน้องต้องวิ่งเต้นเข้านักบริหารประเภทนี้อยู่เรื่อยไป ผลลงเอยด้วยลูกน้องตีกันเอง เพราะนักบริหารไม่ยอมวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะทำตามข้อเสนอของใคร นักบริหารประเภทนี้ได้คนแต่เสียงาน นั่นคือทุกคนชอบเขาเพราะเขาเป็นคนอ่อนไม่เคยตำหนิใคร ลูกน้องจะทำงานหรือทิ้งงานก็ได้เขาไม่กล้าลงโทษ เขาสุภาพกับทุกคน แต่องค์กรวุ่นวายไร้ระเบียบและไม่มีผลงาน

๓. ธรรมาธิปไตย หมายถึง การถือธรรมหรือหลักการเป็นสำคัญ
        นักบริหารประเภทนี้ ยึดเอาความสำเร็จของงานเป็นที่ตั้งเพื่อทำงานให้สำเร็จเขายินดีรับฟังคำแนะนำจากทุกฝ่าย ซึ่งรวมทั้งคนที่ไม่ชอบเขาเป็นส่วนตัว เขาแยกเรื่องงานออจากความขัดแย้งส่วนตัว เขายอมโง่เพื่อศึกษาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การบริหารเช่นนี้ทำให้ได้ทั้งคนและงาน นั่นคืองานสำเร็จเพราะคนทุกคนมีโอกาสแสดงความสามารถ นักบริหารจะเปิดโอกาสให้คนที่ตนไม่ชอบได้ทำงานด้วย ถ้าเขาคนนั้นมีฝีมือ

ทีนี้ท่านพอจะนึกออกหรือไม่......ว่าอยากจะเป็นผู้นำแบบใด...

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

Too Much So Much Very Much (Official Music Video)

ทฤษฎี Herzberg's Two Factor Theory (ทฤษฎีสองปัจจัย)

ทฤษฎี  Herzberg’s Two  Factor  Theory  (ทฤษฎีสองปัจจัย)
เป็นทฤษฎีที่  Frederick K. Herzberg and  Others.  ได้ศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคคล 
โดยศึกษาถึงความต้องการของบุคคลในองค์การ  หรือการจูงใจจากการทำงานโดยเฉพาะเจาะจง โดยศึกษาว่าคนเราต้องการอะไรจากการทำงาน  ซึ่งสรุปได้ว่า  ความสุขจากการทำงานนั้น  เกิดจากความพึงพอใจ  หรือ
ไม่พึงพอใจในงานที่ทำ  มีสาเหตุมาจากปัจจัยสองกลุ่ม คือ
1. ปัจจัยจูงใจ  (Motivational Factors)  เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง  เพื่อจูงใจให้คนชอบและ
รักงานที่ปฏิบัติอยู่   เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความพึงพอใจแก่บุคคลในองค์การ  ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  เพราะเป็นปัจจัยที่สามารถตอบสนองความต้องการภายในของบุคคลได้   ประกอบด้วย
1.1    ความสำเร็จในการทำงาน  
1.2    การได้รับการยอมรับนับถือ
1.3    ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
1.4    ความรับผิดชอบในงาน
1.5    ความก้าวหน้า            
2. ปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยสุขศาสตร์  (Maintenance  or  Hygiene  Factors)  หมายถึง ปัจจัยที่จะค้ำจุน
ให้บุคคลมีแรงจูงใจในการทำงานอยู่ตลอดเวลา  ถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับบุคคลในองค์การ  บุคคลในองค์การจะเกิดความไม่ชอบงานขึ้น  ซึ่งเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกตัวบุคคล  ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
                    2.1  เงินเดือน
                    2.2  นโยบายและการบริหาร
                    2.3  ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และเพื่อนร่วมงาน
                    2.4  สภาพการทำงาน
                    2.5  วิธีปกครองบังคับบัญชา
    2.6  สถานะทางอาชีพ
    2.7  ความมั่นคงในการทำงาน 
                    จากทฤษฎีดังกล่าว สรุปได้ว่า  ปัจจัยทั้งสองด้านนี้เป็นสิ่งที่คนต้องการ  เพราะเป็นแรงจูงใจในการทำงาน   
ปัจจัยจูงใจ  เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความสุขในการทำงาน โดยมีความสัมพันธ์กับแนวคิดที่ว่า  เมื่อคนได้รับการตอบสนองด้วยปัจจัยนี้แล้ว  จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน  ผลที่ตามมาก็คือคนจะเกิดความพึงพอใจในงาน  สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจัยค้ำจุนหรือสุขศาสตร์  ทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันมิให้คนเกิดความไม่เป็นสุข  หรือไม่พึงพอใจในงาน ช่วยทำให้คนเปลี่ยนเจตคติจากการไม่อยากทำงานมาสู่ความพร้อมที่จะทำงาน
นอกจากนี้ Herzberg ยังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า  ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนหรือสุขศาสตร์ จะต้องมีค่าเป็นบวกเท่านั้น  จึงจะทำให้บุคคลมีแรงจูงใจและพึงพอใจในการปฏิบัติงาน 


ส่วนหนึ่งของรายงาน วิชาภาวะผู้นำ ดร.สมจิต สงสาร

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

การแข่งขันกีฬา "สายสัมพันธ์เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ ครั้งที่ 2"


นายสมศักดิ์ ชอบทำดี ผอ.สพป.บร.2 เจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ 5 เขต โดยมีนายณรงค์ แผ้วพลสง ผอ.สพป.บร.1 เป็นประธานพิธี วัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา ให้บุคลากรทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ เกิดความสมัครสมานสามัคคีระหว่างหมู่คณะ ก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจในการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 5 เขต 510 คน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 ณ อุทยานน้ำหนองระแซซัน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์   งบประมาณได้รับความร่วมมือจากทุกเขตและองค์กรเอกชน
ห้างร้าน เป็นอย่างดี



รวมพลคนเขต




สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ก็มีคนสวย




กองเชียร์สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 มีแต่นักเต้นวีไอพีทั้งนั้น




นักกีฬาฟุตบอลจำเป็น




สามัคคีชุมนุมกลุ่มงานการเงิน สพป.บุรีรัมย์ เขต4


บทความดีดีอยากให้อ่านกัน

อุปนิสัย 7 ประการเพื่อประสิทธิผลสูง
                                           โดย  Stephen R.Covey
                  
  โดยทั่วไปแล้วพฤติกรรมของเราประกอบไปด้วยอุปนิสัยต่างๆ ในตัวเรา ความคิดจะส่งผลให้เกิดการปฏิบัติ และเมื่อปฏิบัติเป็นนิจก็จะกลายเป็นอุปนิสัย เมื่อมีอุปนิสัยก็จะกลายเป็นคุณลักษณะ และในที่สุดจะกลายเป็นวิถีชีวิต
อุปนิสัยเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต และเกิดขึ้นตลอดเวลาจนเกือบไม่รู้ตัว แต่เราสามารถสร้างอุปนิสัยที่มีประสิทธิผลให้เกิดขึ้นกับตัวเราไได้ ด้วยความอดทนและตั้งใจจริง

อุปนิสัยเพื่อการพัฒนาสู่การเป็นผู้มีประสิทธิผลสูง ตามแนวคิดของ Stephen R. Covey ประกอบด้วย
อุปนิสัยที่ 1 .. ต้องเป็นเป็นฝ่ายเริ่มต้นก่อน
เป็นความหมายแห่งการริเริ่ม มีความหมายในฐานะความเป็นมนุษย์ที่สามารถรับผิดชอบชีวิตตัวเอง พฤติกรรมของเราเป็นส่วนหนึ่งจากการตัดสินใจของเรา เราต้องเป็นฝ่ายริเริ่มและรับผิดชอบในการกระทำทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้น การกระทำของเราย่อมเกิดจากการเลือกของเราเอง อยู่บนพื้นฐานของคุณค่ามากกว่าผลจากเงื่อนไข
อุปนิสัยที่ 2 .. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายภายในใจ
การเริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายภายในใจ ( being with the end in mind ) หมายถึง คุณต้องรู้เป้าหมายอย่างชัดเจน ว่าคุณต้องการอะไร ต้องการจะไปไหน เพื่อจะได้เข้าใจว่าคุณจะขยับไปสู่ทิศทางที่ถูกต้องได้อย่างไร
การกำหนดเป้าหมายไว้ในใจ จะเป็นสิ่งที่ใช้ตรวจสอบทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตคุณ ไม่ว่าพฤติกรรมในวันนี้ หรือวันหน้าจะต้องสอดคล้องกับสิ่งที่คุณกำหนดไว้ในใจ
วิธีที่มีประสิทธิผลมากที่สุด ก็คือ " สนใจเฉพาะสิ่งที่คุณต้องการเป็น และต้องการทำ โดยอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าและหลักการที่ดี "
อุปนิสัยที่ 3 .. ทำตามลำดับความสำคัญ
การบริหารที่ดีที่สุดคือ การทำทุกอย่างตามลำดับความสำคัญ ( putting first things first ) การบริหารก็คือการจัดระเบียบวินัยเพื่อทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ และหัวใจของการบริหารเวลา สามารถสรุปให้สั้นเหลือเพียงประโยคเดียวว่า " จัดการและดำเนินการตามความสำคัญ "
อุปนิสัย 4 .. คิดแบบชนะ / ชนะ
" มิตรภาพไม่มีวันเกิดขึ้นได้ถ้าปราศจากความเชื่อมั่น และความเชื่อมั่นจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้ถ้าปราศจากความซื่อตรง "
แนวคิดแบบชนะ / ชนะ ไม่ถือเป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง แต่เป็นปรัชญาโดยรวมที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อกัน เป็นการมองว่าชีวิตควรเป็นไปเพื่อความร่วมมือร่วมใจ ไม่ใช่เพื่อการแข่งขัน เพราะความสำเร็จของคนคนหนึ่งไม่ได้หมายความว่าต้องทำให้อีกคนหนึ่งเสียหายหรือต้องแย่งชิงจากคนอื่น
อุปนิสัยที่ 5 .. เข้าใจคนอื่นก่อนที่จะให้คนอื่นเข้าใจเรา
ปาสคาลกล่าวว่า " หัวใจมีเหตุผลพอที่จะรู้ว่าเรื่องไหนไม่ต้องใช้เหตุผล "
การเข้าใจคนอื่นต้องอาศัยการไตร่ตรอง แต่การทำให้คนอื่นเข้าใจเราจะต้องอาศัยความกล้าหาญ
ความคิดแบบชนะ / ชนะต้องประกอบไปด้วยทั้งสองอย่างนี้ ยิ่งคุณสามารถทำความเข้าใจคนอื่นได้ลึกซึ้งเท่าไหร่ คุณจะยิ่งได้รับความศรัทธามากขึ้นเท่านั้น เมื่อคุณเข้าใจความรู้สึกของแต่ละคนเป็นอย่างดีแล้ว ความแตกต่างจะไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไป
อุปนิสัยที่ 6 .. ประสานพลัง
การประสานพลัง หมายถึง การรวมข้อดีของอุปนิสัยทั้งหมดมารวมเข้าด้วยกันเพื่อทำงานใหญ่ให้สำเร็จ
กุญแจสำคัญของการประสานพลังก็คือ การประสานพลังในตัวบุคคลนั่นเอง เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ
อุปนิสัยที่ 7 .. ลับเลื่อยให้คม
อุปนิสัยที่ 7 เป็นเหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่ช่วยรักษาและเพิ่มคุณค่าที่มีอยู่ในตัวคุณให้มากขึ้น การลับเลื่อยให้คม โดยทั่วไปแล้วหมายถึงการแสดงพลังขับเคลื่อนที่มีอยู่ในตัวบุคคล แล้วนำออกมาใช้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยใช้อย่างฉลาดและสมดุล

ที่มา : กรมสุขภาพจิต