วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ท่านอยากเป็นผู้นำแบบใด?

ท่านอยากเป็นผู้นำแบบไหน?
พระอาจารย์ประยูร ธมฺมจิตฺโต (พระธรรมโกศาจารย์) ได้นิพนธ์ไว้ในหนังสือเรื่อง พุทธวิธีบริหาร
ตอนหนึ่งว่า                                                                      
๑. อัตตาธิปไตย หมายถึง การถือตนเองเป็นใหญ่
         นักบริหารที่เป็นอัตตาธิปไตย ถือตนเองเป็นศูนย์กลางของการตัดสินใจ เขาเชื่อมั่นในตนเองสูง คิดว่าตนเองฉลาดกว่าใคร จึงไม่รับฟังความคิดเห็นของใคร เขาไม่อดทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์เขานิยมใช้พระเดชมากกว่าพระคุณ เมื่อบริหารงานนาน ๆ ไปจะไม่มีคนกล้าคัดค้าหรือทัดทาน ลงท้ายนักบริหารประเภทนี้มักเป็นเผด็จการ การบริหารงานแบบนี้ทำให้ได้งานแต่เสียคน นั่นคืองานสำเร็จเร็วทันใจนักบริหาร แต่ไม่ถูกใจคนร่วมงาน เขาผูกใจคนไม่ได้ เขาได้ความสำเร็จของงานแต่เสียเรื่องการครองใจคน
๒. โลกาธิปไตย หมายถึง การถือคนอื่นเป็นใหญ่
        นักบริหารประเภทนี้มีวิธีทำงานที่ตรงกันข้ามกับประเภทแรกนั่นคือ นักบริหารโลกาธิปไตยไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง เขาขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่สามารถตัดสินใจอะไร ถ้านั่งเป็นประธานอยู่ในที่ประชุมเขาจะฟังทุกฝ่ายก็จริง แต่เมื่อฝ่ายต่าง ๆ พูดขัดแย้งกัน เขาจะไม่ตัดสินชี้ขาด แต่เปิดโอกาสให้ทุกฝายทุ่มเถียงทะเลาะกันเอง ใครเสนอความคิดอะไรมาเขาก็เห็นคล้อยตามด้วย จนไม่ยอมตัดสินใจเด็ดขาดลงไปว่าฝ่ายไหนถูกฝ่ายไหนผิด ในที่สุดลูกน้องต้องวิ่งเต้นเข้านักบริหารประเภทนี้อยู่เรื่อยไป ผลลงเอยด้วยลูกน้องตีกันเอง เพราะนักบริหารไม่ยอมวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะทำตามข้อเสนอของใคร นักบริหารประเภทนี้ได้คนแต่เสียงาน นั่นคือทุกคนชอบเขาเพราะเขาเป็นคนอ่อนไม่เคยตำหนิใคร ลูกน้องจะทำงานหรือทิ้งงานก็ได้เขาไม่กล้าลงโทษ เขาสุภาพกับทุกคน แต่องค์กรวุ่นวายไร้ระเบียบและไม่มีผลงาน

๓. ธรรมาธิปไตย หมายถึง การถือธรรมหรือหลักการเป็นสำคัญ
        นักบริหารประเภทนี้ ยึดเอาความสำเร็จของงานเป็นที่ตั้งเพื่อทำงานให้สำเร็จเขายินดีรับฟังคำแนะนำจากทุกฝ่าย ซึ่งรวมทั้งคนที่ไม่ชอบเขาเป็นส่วนตัว เขาแยกเรื่องงานออจากความขัดแย้งส่วนตัว เขายอมโง่เพื่อศึกษาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การบริหารเช่นนี้ทำให้ได้ทั้งคนและงาน นั่นคืองานสำเร็จเพราะคนทุกคนมีโอกาสแสดงความสามารถ นักบริหารจะเปิดโอกาสให้คนที่ตนไม่ชอบได้ทำงานด้วย ถ้าเขาคนนั้นมีฝีมือ

ทีนี้ท่านพอจะนึกออกหรือไม่......ว่าอยากจะเป็นผู้นำแบบใด...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น