วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎี Herzberg's Two Factor Theory (ทฤษฎีสองปัจจัย)

ทฤษฎี  Herzberg’s Two  Factor  Theory  (ทฤษฎีสองปัจจัย)
เป็นทฤษฎีที่  Frederick K. Herzberg and  Others.  ได้ศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคคล 
โดยศึกษาถึงความต้องการของบุคคลในองค์การ  หรือการจูงใจจากการทำงานโดยเฉพาะเจาะจง โดยศึกษาว่าคนเราต้องการอะไรจากการทำงาน  ซึ่งสรุปได้ว่า  ความสุขจากการทำงานนั้น  เกิดจากความพึงพอใจ  หรือ
ไม่พึงพอใจในงานที่ทำ  มีสาเหตุมาจากปัจจัยสองกลุ่ม คือ
1. ปัจจัยจูงใจ  (Motivational Factors)  เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง  เพื่อจูงใจให้คนชอบและ
รักงานที่ปฏิบัติอยู่   เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความพึงพอใจแก่บุคคลในองค์การ  ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  เพราะเป็นปัจจัยที่สามารถตอบสนองความต้องการภายในของบุคคลได้   ประกอบด้วย
1.1    ความสำเร็จในการทำงาน  
1.2    การได้รับการยอมรับนับถือ
1.3    ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
1.4    ความรับผิดชอบในงาน
1.5    ความก้าวหน้า            
2. ปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยสุขศาสตร์  (Maintenance  or  Hygiene  Factors)  หมายถึง ปัจจัยที่จะค้ำจุน
ให้บุคคลมีแรงจูงใจในการทำงานอยู่ตลอดเวลา  ถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับบุคคลในองค์การ  บุคคลในองค์การจะเกิดความไม่ชอบงานขึ้น  ซึ่งเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกตัวบุคคล  ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
                    2.1  เงินเดือน
                    2.2  นโยบายและการบริหาร
                    2.3  ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และเพื่อนร่วมงาน
                    2.4  สภาพการทำงาน
                    2.5  วิธีปกครองบังคับบัญชา
    2.6  สถานะทางอาชีพ
    2.7  ความมั่นคงในการทำงาน 
                    จากทฤษฎีดังกล่าว สรุปได้ว่า  ปัจจัยทั้งสองด้านนี้เป็นสิ่งที่คนต้องการ  เพราะเป็นแรงจูงใจในการทำงาน   
ปัจจัยจูงใจ  เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความสุขในการทำงาน โดยมีความสัมพันธ์กับแนวคิดที่ว่า  เมื่อคนได้รับการตอบสนองด้วยปัจจัยนี้แล้ว  จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน  ผลที่ตามมาก็คือคนจะเกิดความพึงพอใจในงาน  สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจัยค้ำจุนหรือสุขศาสตร์  ทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันมิให้คนเกิดความไม่เป็นสุข  หรือไม่พึงพอใจในงาน ช่วยทำให้คนเปลี่ยนเจตคติจากการไม่อยากทำงานมาสู่ความพร้อมที่จะทำงาน
นอกจากนี้ Herzberg ยังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า  ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนหรือสุขศาสตร์ จะต้องมีค่าเป็นบวกเท่านั้น  จึงจะทำให้บุคคลมีแรงจูงใจและพึงพอใจในการปฏิบัติงาน 


ส่วนหนึ่งของรายงาน วิชาภาวะผู้นำ ดร.สมจิต สงสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น